วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิจัย

ความสามารถในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
(สุมาลี  หมวดไธสง)

             กระบานการวิทยาศาสตร์ หมายถึงกระบวนการทางความคิดแก้ปัญหาอย่างมีระเบียบ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ หรือคำตอบของปัญหา ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัยในการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านส่งเสริมให้เด็กคิดเป็น ทำเป็นแก้ปัญหาเป็นและสามารถนำความรู้ที่ค้นพบไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่มีความยากขึ้นต่อไป

           จากงานวิจัยของต่างประเทศพบว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยใช้ในการเรียนรู้มากที่สุด คือการสังเกต เนื่องจากเป็นทักษะพื้นฐานที่เด็กทุกคนใช้ในการเรียนรู้

           การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่ เป็นการพาเด็กไปศึกษานอกอาณาเขตของห้องเรียนที่เรียนกันตามปกติ ซึ่งเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงทำให้เก็ดเกิดความอยากรู้อยากเห็นไม่เกิดความเบื่อหน่ายและสนุกกับการเรียน

           การคิดเชิงวิเราะห์มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก การคิดเชิงวิเราะห์เป็นทักษะการคิดที่สามารถพัฒนาได้ ตั้งแต่วัยเด็กเล็กและให้คงทนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง และเกิดความสำเร็จในการเรียนรู้
ผลการเปรียบเทีบยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลียสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
           ผลการวิจัย
           ผลการศึกษาระดับความสารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น

โทรทัศน์ครู


สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์



จิตวิทยาศาสตร์คือการที่เด็กเป็นคนช่างสังเกต และต้องสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน


ในที่นี้ จะใช้การจำลองสถาณการณ์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนโดยการสมมติให้ เด็กเป็นนักสือเพื่อเป็นการทำให้เด็กรู้จักการสังเกต ตั้งสมมติฐานของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยครูต้องมีการวางแผน


การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์คือการที่จะทำอย่างไรให้เด็กรักการเรียนวิทยาศาสตร์ ไม่น่าเบื่อ เรียนแล้วสนุก เด็กอยากเรียนรู้


วิธีการปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ คือ การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับเด็ก เช่นในการทดลองครูจะต้องเตรียมของให้กับเด็กเพราะเด็กยังไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เองได้


การวัดการประเมินผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กมีการช่างสังเกตมาขึ้น สนใจสิ่งรอบๆตัว ความแตกต่างของสิ่งที่พบเห็น การสอบถามผู้ปกครองของเด็ก


เด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์คือ เด็กจะชอบซักถาม จะชอบมีข้อสงสัยต่างๆ


เด็กที่ไม่มีจิตวิทยาศาสตร์ คือ เด็กจะไม่ค่อยสนใจ จะนิ่งเฉยในการเรียน ไม่ชอบซักถามครู


บทความ

สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์

วิธีฝึกให้เด็กคิดแบบวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสมีหลายรูปแบบ แต่ที่จะนำเสนอคือ รูปแบบห้าอี " 5 Es Model " ประกิบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 Engage เมื่อเด็กสงสัยหรือพ่อแม่อยากให้ลูกเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรตรวจสอบความรู้เดิมของลูกก่อนว่ามีความเข้าใจกับสิ่งที่สงสัยอย่างไร มีพื้นฐานขนาดไหน และเข้าใจถูกต้องหรือไม่ หลังจากนั้นให้กระตุ้นความสนใจของเด็กก่อนจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ โดยอาจใช้คำถามย้อนกลับ หรือนำสิ่งของมาดึงดูดความสนใจ เพื่อให้เด็กสนใจที่จะเรียนรู้ต่อไป

ขั้นที่ 2 Explore ให้เด็ฏเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นคว้าข้อมูลเรื่องที่สนใจอยากรู้จากแหล่งต่างๆ อาจหาหนังสือสำหรับเด็กแต่ละวัย วิดีโอ ชุดมัลติมีเดีย หรือพาไปชมแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

ขั้นที่ 3 Explain ให้เด็กลองวิเคราะห์ สำรวจตรวจสอบความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้นจากขั้นที่ 2 โดยพูดคุยกับเด็กในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ลองอธิบายเรื่องที่ได้เรียนรู้ออกมาตามความเข้าใจของตัวเอง ผลพลอยได้จะเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักการสรุปความคิดรวบยอด และมีทักษะการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ขั้นที่ 4 Elaborate งอลให้เด็กได้เชื่อมโยง และขยายความรู้ในสิ่งที่เรียนรู้ ไปยังสิ่งที่อยู่รอบตัว อาจให้ลองทำการทดลองง่ายๆด้วยตัวเอง 

ขั้นที่ 5 Evaluate พูดุยกับลูก ให้ลูกสะท้อนความคิดและความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้นออกมา โดนเฉพาะกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ว่าสิ่งที่ตนเองรู้นั้นได้มาจากกระบวนการอย่างไร เพื่อช่วยให้เด็กตระหนักรู้ว่ากระบวนการและการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ทำให้การเสาะแสวงหาความรู้ของตนเองเป็นไปอย่างมีเหตุและผล และเป็นการตรวจสอบสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ว่าถูกต้องหรือไม่

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

29 September 2013

นำเสนอผลงานวิทยาศาสตร์


 ของเล่นวิทยาศาศาสตร์ เครื่องร่อนวงแหวน 







 ของเล่นเข้ามุมวิทยาศาศาสตร์ ปิงปองหมุนวน






 การทดลองวิทยาศาศาสตร์ เหรียญหายไปไหน




Week 17

25 September 2013

       อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งเทอมของวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 16

18 September 2013

- อาจารย์ให้ตัวแทนของห้องออกมาสาธิตการทำไข่ตุ๋น โดยให้นักศึกษาในห้องเป็นเด็กนักเรียน
- หลังจากดูการสาธิตแล้วก็ได้แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วนกันทำไข่ตุ๋น

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

15 September 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน

  • อาจารย์สอนตั้งแต่การเริ่มต้นการเขียนแผนเป็น My mapping เรื่องการสอนเด็กทำอาหาร และให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • แต่ละกลุ่มลงมติในการทำไข่ตุ๋นในชั่วโมงต่อไป

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 14

11 September 2013

*** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจทางราชการ
แต่จะมีการเรียนชดเชยในภายหลัง***

Week 13

4 September 2013


 *** ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจทางราชการ
แต่จะมีการเรียนชดเชยในภายหลัง ***

Week 12

28 August 2013

ศึกษาดูงาน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏโคราช และ โรงเรียนลำปรายมาศพัฒนา

Week 11

21 August 2013

*** ไม่มีการเรียนการสอน ***

อาจารย์ได้มอบหมายงาน ดังนี้

- การทดลองวิทยาศาสตร์
-ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 10

7 August 2013

- อาจารย์พูดเรื่องการไปศึกษาดูงาน มีการหมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละกลุ่ม และสิ่งที่ต้องเตรียมไปศึกษาดูงาน
- อาจารย์ตรวจ Blogger ของนักศึกษาแต่ละคน ว่าต้องแก้ไขอะไรบ้าง มีจุดบกพร่องอะไรบ้าง
- อาจารย์ให้ทำการทดลองว่าวใบไม้ลง Blogger

Week 9

7 August 2013

อาจารย์ให้เข้าร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม โครงการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย

Week 8

31 July 2013

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค

Week 7

24 July 2013

- อาจารย์ทบทวนความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เรียนมาทั้งหมด
- อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู ตอน Project Approach

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 6

17 July 2013


เครื่องร่อนวงแหวน(ของเล่น)




อุปกรณ์
1.            กระดาษ
2.            เทปใส
3.            หลอดกาแฟ
4.            กรรไกร


วิธีทำ
1.            ตัดกระดาษ 1 × 3 นิ้ว 1 ชิ้น และ 1 × 6 นิ้ว 1 ชิ้น
2.            นำกระดาษที่ตัดไว้ทั้ง 2 ชิ้นมาม้วนเป็นวงกลมแล้วนำเทปใสติดตรงปลายกระดาษ
3.            นำกระดาษที่ม้วนไว้มาติดตรงปลายหลอดทั้งสองด้าน


วิธีเล่น
            เครื่องร่อนวงแหวนมีวิธีการเล่นเหมือนกับจรวดที่พับเล่นกันทั่วไป แต่เครื่องเล่นวงแหวนนั่น จะปาไปได้ไกลกว่า และอยู่ในอากาศได้นานกว่าจรวดทั่วๆไป

หลักการวิทยาศาสตร์
            สาเหตุที่เครื่องร่อนวงแหวนปาไปได้ไกลกว่า และอยู่ในอากาศได้นานกว่าจรวดทั่วๆไปนั้นก็เพราะว่า วงแหวนขนาดใหญ่ข้างหลังนั้นเป็นตัวสร้างแรงต้านอากาศทำให้เครื่องร่อนวงแหวนอยู่ในอากาศได้นาน และปาไปได้ไกลกว่าจรวดทั่วไป

เหรียญหายไปไหน(การทดลอง)
                                       






อุปกรณ์
1.            แก้วน้ำ
2.            เหรียญ
3.            น้ำเปล่า


วิธีทดลอง
นำเหรียญไปไว้ใต้แก้วน้ำแล้วสังเกตดูว่าเห็นเหรียญใต้แก้วหรือไม่
นำน้ำเปล่าเทใส่แก้วแล้วสังเกตดูว่าเห็นเหรียญใต้แก้วหรือไม่

หลักการวิทยาศาสตร์
            ก่อนเทน้ำ ภาพของเหรียญเกิดจากการสะท้อนแสงผ่านอากาศมาที่ตา จึงเห็นเหรียญอยู่ใต้แก้ว แต่เมื่อเทน้ำลงไปแล้ว แสงที่กระทบเหรียญ และสะท้อนผ่านน้ำเกิดการหักเห (เพราะน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ) ทำให้ภาพของเหรียญไม่สามารถผ่านแก้วมาถึงตาได้ แต่ถ้ามองจากด้านบน จะเห็นภาพเหรียญได้ เพราะภาพเหรียญสะท้อนมาอยู่ที่ผิวน้ำ

 
ปิงปองหมุนวน(เข้ามุม)




อุปกรณ์
1.            แก้ว 2 ใบ
2.            ลูกปิงปอง 2 ลูก
3.            เทปใส
4.            กระดาษตกแต่ง


วิธีทำ
1.            นำลูกปิงปองทั้ง 2 ลูกใส่ลงไปในแก้ว
2.            นำแก้วมาประกบกันแล้วใช้เทปใสติดตรงรอยต่อของแก้ว
3.            นำกระดาษตกแต่งแก้วให้สวยงาม


วิธีเล่น
            ทำให้ลูกปิงปองอยู่ตรงก้นแก้วทั้งสองด้านโดยการหมุนแก้วเป็นวงกลมก็จะทำให้ลูกปิงปองอยู่ตรงก้นแก้วทั้งสองด้านได้

หลักการวิทยาศาสตร์
            ที่ลูกปิงปองอยู่ตรงก้นแก้วได้ก็เพราะ หลักการเคลื่อนที่แบบวงกลม คือวัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง เกิดขึ้นเนื่องจากทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเสมอ แต่เมื่อมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม ส่วนแรงที่เป็นคู่ตรงข้ามแรงเข้าสู่ศูนย์กลางเรียกว่าแรงเหวี่ยงหรือแรงหนีศูนย์กลาง