วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 6

17 July 2013


เครื่องร่อนวงแหวน(ของเล่น)




อุปกรณ์
1.            กระดาษ
2.            เทปใส
3.            หลอดกาแฟ
4.            กรรไกร


วิธีทำ
1.            ตัดกระดาษ 1 × 3 นิ้ว 1 ชิ้น และ 1 × 6 นิ้ว 1 ชิ้น
2.            นำกระดาษที่ตัดไว้ทั้ง 2 ชิ้นมาม้วนเป็นวงกลมแล้วนำเทปใสติดตรงปลายกระดาษ
3.            นำกระดาษที่ม้วนไว้มาติดตรงปลายหลอดทั้งสองด้าน


วิธีเล่น
            เครื่องร่อนวงแหวนมีวิธีการเล่นเหมือนกับจรวดที่พับเล่นกันทั่วไป แต่เครื่องเล่นวงแหวนนั่น จะปาไปได้ไกลกว่า และอยู่ในอากาศได้นานกว่าจรวดทั่วๆไป

หลักการวิทยาศาสตร์
            สาเหตุที่เครื่องร่อนวงแหวนปาไปได้ไกลกว่า และอยู่ในอากาศได้นานกว่าจรวดทั่วๆไปนั้นก็เพราะว่า วงแหวนขนาดใหญ่ข้างหลังนั้นเป็นตัวสร้างแรงต้านอากาศทำให้เครื่องร่อนวงแหวนอยู่ในอากาศได้นาน และปาไปได้ไกลกว่าจรวดทั่วไป

เหรียญหายไปไหน(การทดลอง)
                                       






อุปกรณ์
1.            แก้วน้ำ
2.            เหรียญ
3.            น้ำเปล่า


วิธีทดลอง
นำเหรียญไปไว้ใต้แก้วน้ำแล้วสังเกตดูว่าเห็นเหรียญใต้แก้วหรือไม่
นำน้ำเปล่าเทใส่แก้วแล้วสังเกตดูว่าเห็นเหรียญใต้แก้วหรือไม่

หลักการวิทยาศาสตร์
            ก่อนเทน้ำ ภาพของเหรียญเกิดจากการสะท้อนแสงผ่านอากาศมาที่ตา จึงเห็นเหรียญอยู่ใต้แก้ว แต่เมื่อเทน้ำลงไปแล้ว แสงที่กระทบเหรียญ และสะท้อนผ่านน้ำเกิดการหักเห (เพราะน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ) ทำให้ภาพของเหรียญไม่สามารถผ่านแก้วมาถึงตาได้ แต่ถ้ามองจากด้านบน จะเห็นภาพเหรียญได้ เพราะภาพเหรียญสะท้อนมาอยู่ที่ผิวน้ำ

 
ปิงปองหมุนวน(เข้ามุม)




อุปกรณ์
1.            แก้ว 2 ใบ
2.            ลูกปิงปอง 2 ลูก
3.            เทปใส
4.            กระดาษตกแต่ง


วิธีทำ
1.            นำลูกปิงปองทั้ง 2 ลูกใส่ลงไปในแก้ว
2.            นำแก้วมาประกบกันแล้วใช้เทปใสติดตรงรอยต่อของแก้ว
3.            นำกระดาษตกแต่งแก้วให้สวยงาม


วิธีเล่น
            ทำให้ลูกปิงปองอยู่ตรงก้นแก้วทั้งสองด้านโดยการหมุนแก้วเป็นวงกลมก็จะทำให้ลูกปิงปองอยู่ตรงก้นแก้วทั้งสองด้านได้

หลักการวิทยาศาสตร์
            ที่ลูกปิงปองอยู่ตรงก้นแก้วได้ก็เพราะ หลักการเคลื่อนที่แบบวงกลม คือวัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง เกิดขึ้นเนื่องจากทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงเสมอ แต่เมื่อมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม ส่วนแรงที่เป็นคู่ตรงข้ามแรงเข้าสู่ศูนย์กลางเรียกว่าแรงเหวี่ยงหรือแรงหนีศูนย์กลาง